วิ่งอย่างไรให้น้ำหนักลด วิ่งลดน้ำหนักที่ถูกวิธี
ทุกท่านคงอยากรู้ใช่ไหมครับว่า วิ่งอย่างไรให้น้ำหนักลด หรือการวิ่งลดน้ำหนักที่ถูกวิธี ทำอย่างไร เพราะมันจะทำให้คุณสามารถวิ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงเป้าหมายของการวิ่งมากยิ่งขึ้นยังไงล่ะ แล้วก็บางท่านอาจสงสัยว่า วิ่งยังไงให้ผอมล่ะ? ทำไมฉันยิ่งวิ่งยิ่งอ้วนละเนี่ย นั่นก็เพราะการวิ่งลดน้ำหนักที่ดีต้องมาควบคู่กับการวิ่งที่ถูกต้องครับ ดังนั้นไม่รอช้าครับ บทความนี้จะนำเสนอการวิ่งลดน้ำหนักด้วยการวิ่งที่ถูกต้องกันครับ
![]() |
วิ่งลดน้ำหนัก |
การวิ่งเพื่อสุขภาพ หรือจ๊อกกิ้ง เป็นการวิ่งเหยาะๆ ด้วยความเร็วระหว่างการเดินเร็วกับการวิ่ง การวิ่งที่ได้ผลดี "ต้องเป็นธรรมชาติ" ไม่เกร็ง มีข้อเสนอแนะนำ เพื่อนำไปปรับใช้ ดังนี้
![]() |
การวิ่งลดน้ำหนัก |
1. วิธีวิ่งที่ถูกต้อง
1.1 การลงเท้า ที่ถูกวิธีเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพื่อป้องกันการบาดเจ็บสำหรับนักวิ่งเพื่อสุขภาพ โดยส้นเท้าจะสัมผัสพื้นก่อนทั้งฝ่าเท้าจะตามลงมา และเมื่อปลายเท้าหมุนลงมาแตะพื้นก็เป็นจังหวะที่ส้นเท้าเปิดขึ้น ปลายเท้า ก็จะคล้ายตะกุยดิน ถีบตัวเหมือนสปริงดีดตัวขึ้นบนและเคลื่อนไปข้างหน้า
จุดที่เท้าสัมผัสพื้นควรจะตรงกับหัวเข่า งอเข่านิดๆ เท้าควรจะสัมผัสพื้นหลังจากที่ได้เหยียดออกไป ข้างหน้า ส่วนอีกเท้าเหวี่ยงไปข้างหลัง ควรจะลงแตะพื้นเบาๆ นักวิ่งส่วนใหญ่จะลงพื้นด้วยริมนอกของเท้า และหมุนเข้าด้านใน ซึ่งการหมุนเข้าด้านในช่วยเป็นเกราะกันกระแทก
1.2 ท่าทางในการวิ่ง ควรวิ่งให้หลังตรงและเป็นธรรมชาติมากที่สุด ศีรษะตรง ตามองตรงไปข้างหน้า ให้ส่วนต่างๆ จากศีรษะลงมาหัวไหล่และสะโพกจนถึงพื้นเป็นเส้นตรง ลำตัวไม่โน้มไปด้าน หน้าหรือเอนไปด้านหลัง
1.3 การเคลื่อนไหวของแขน ใช้หัวไหล่ในการแกว่งแขน จะช่วยเป็นจังหวะและการทรงตัวในการวิ่งขณะวิ่งแขนแกว่งไปมาเหมือนกับลูกตุ้มนาฬิกาไปตามแนวหน้าหลัง พยายามอย่าให้ข้อศอกงอเข้ามาแคบกว่า 90 องศา หัวแม่โป้งวางบนนิ้วชี้สบายๆ กำนิ้วหลวมๆ ข้อมือไม่เกร็ง บางครั้งอาจเหยียดแขนตรงลงมา หรือเขย่าแขนเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวบ้าง หลังจากยกแขนไว้นานๆ
1.4 การหายใจ หายใจเข้าทางจมูกและปล่อยลมหายใจออกพร้อมกันทั้งทางจมูกและปาก ยึดกฎง่ายๆ คือ การหายใจควรเป็นไปตามสบายและพยายามหายใจด้วยท้อง
การหายใจด้วยท้อง คือสูดหายใจเข้าไปในปอดจนท้องขยายและบังคับปล่อยลม ให้ออกมาด้วยการแขม่วท้อง การหายใจไม่ถูกวิธีอาจจะทำให้เกิดการจุกเสียดขณะวิ่งได้
![]() |
วิธีวิ่งที่ถูกต้อง |
2. ความหนัก ความนาน และความบ่อยของการวิ่ง ความหนักหรือความเร็ว ควรใช้ความเร็วที่ทำให้รู้สึกเหนื่อยจนต้องหายใจแรง แต่ไม่ถึงกับต้องหายใจทางปากหรือมีอาการหอบ เมื่อวิ่งไปแล้ว 4-5 นาทีควรมีเหงื่อออก ยกเว้นในอากาศเย็นจัดอาจยังไม่มี แต่สามารถวิ่งต่อไปได้เกิน 10 นาที อาจใช้ความเร็วคงที่ตลอดระยะทางหรือวิ่งเร็วสลับช้าบ้างก็ได้ แต่การวิ่งติดต่อกันโดยไม่หยุดถึง 10 นาที เป็นสิ่งที่ไม่ง่ายนักสำหรับผู้ที่ไม่ได้เล่นกีฬาหรือวิ่งเป็นประจำอยู่ก่อน ผู้ที่เริ่มวิ่งทุกคนจึงไม่ควรตั้งความหวังสำหรับการวิ่งครั้งแรกไว้ว่าจะวิ่งให้ได้ตลอดมากกว่า 10 นาที โดยไม่สลับด้วยการเดินวิ่ง
ซึ่งจริงๆ แล้วการวิ่งสลับกับการเดินยาวๆ โดยไม่หยุดวิ่งใน วันแรกๆ เป็นสิ่งถูกต้อง เป็นการผ่อนคลายร่างกายที่ไม่ทำให้เกิดความเครียดมากจนเกินไป แต่ในวันต่อๆ ไป ควรเพิ่มระยะเวลาของการวิ่งให้มากขึ้น ลดระยะเวลาของการเดินให้น้อยลง จนในที่สุดสามารถวิ่งเหยาะได้ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 10 นาที โดยไม่ต้องสลับด้วยการเดิน ทำเช่นนี้อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ จึงถือได้ว่าเป็นการวิ่งเพื่อสุขภาพ
![]() |
การวิ่งที่ถูกต้อง |
3. การอบอุ่นร่างกายก่อนวิ่งและการผ่อนคลายร่างกายหลังวิ่ง ก่อนและหลังการวิ่งทุกครั้ง ควรอบอุ่นร่างกายและผ่อนคลายร่างกาย ประมาณ 4-5 นาที โดยวิ่งเหยาะๆ ด้วยความเร็วที่น้อยกว่าที่ใช้ในการวิ่งจริง พร้อมกายบริหารยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย
![]() |
การวิ่งที่ถูกวิธี |