กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ยา สมุนไพร

Edit


กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ยา สมุนไพร

 

      กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ยา กระเพาะปัสสาวะอักเสบ วิธีรักษา กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจาก สมุนไพรที่รักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คืออะไร จากทุกคำถามเหล่านี้ ทางบทความสุขภาพ จึงรู้ว่าเราทุกคนต้องการความรู้ที่ดีเรื่องกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เพื่อนำไปปรับใช้กับตัวเองและคนรอบข้าง และทางบทความสุขภาพเราก็จะช่วยท่านหาข้อมูล ครั้งนี้บทความสุขภาพนำเสนอเรื่องกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งกล่าวถึงโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ยา และวิธีรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ รวมไปถึงสมุนไพรที่ใช้รักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ ให้ในรูปแบบบทความสุขภาพแบบแนวใหม่ของเรา โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นโรคที่ไม่อันตราย หากเรามีการดูแลรักษาที่ดี และมีความรู้ที่ถูกต้อง

 

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการ

 

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คืออะไร

 

     โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คือ Cystitis หรือ Lower urinary tract infection เป็นโรคที่เกิดจากกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อแบคทีเรียจากระบบทางเดินอาหารหรืออุจจาระ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีหลายชนิด เช่น อีโคไล เคล็บซิลลา สูโดโมแนส เอนเทอโรแบกเตอร์ เป็นต้น  แต่ส่วนใหญ่ เกือบ100% เกิดจากเชื้อ อีโคไล (E. coli) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ใหญ่หรือในอุจจาระของเรา

 

     กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นโรคพบบ่อยโรคหนึ่ง พบได้ในทุกอายุ แต่โดยทั่วไปจะพบสูงในช่วงอายุ 20-50 ปี และพบในผู้หญิงบ่อยกว่าในผู้ชายมาก เพราะท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าของผู้ชายมาก ดังนั้นเชื้อโรคบริเวณปากท่อปัสสาวะ จึงเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่า นอกจากนั้น รูเปิดของท่อปัสสาวะผู้หญิงยังเปิดใกล้กับช่องคลอด และทวารหนัก จึงทำให้มีโอกาสติดเชื้อทั้งจากช่องคลอด และทั้งจากทวารหนักได้สูงกว่าในผู้ชาย


กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจาก

 

     กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มักเกิดจากการกลั้นปัสสาวะนานๆ หรือปวดปัสสาวะแล้วไม่สามารถเข้าห้องน้ำได้ ด้วยเหตุผลต่างๆนา ที่บังคับเราให้ไม่ปัสสาวะ โดยปัสสาวะปกติจะประกอบด้วยน้ำ และเกลือ ไม่มีเชื้อโรค ซึ่งการกลั้นไว้นานๆนั้น มีผลทำให้แบคทีเรียที่เข้ามาจากส่วนของอุจจาระเอาชนะกลไกการป้องกันเชื้อโรคบริเวณเยื่อบุผิวของกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีผิวขรุขระ ทำให้มีซุกซอกต่างๆมากมายที่แบคทีเรียจะไปมีชีวิตรอดต่อไป

 

     โดยมีการปริแตกของสารที่ชื่อว่า Glycoaminoglycan (GAG ) บนผิวของผนังกระเพาะอาหาร และเชื้อส่วนใหญ่ คือเชื้อ E.coli ชนิดเดียวกับที่พบในระบบทางเดินอาหาร  จากทวารหนักเข้าสู่ท่อปัสสาวะ ท่อปัสสาวะในผู้หญิงมีความยาวเพียง 4 cm ไม่พบโรคนี้บ่อยในเพศชาย เพราะปากท่อทางเดินปัสสาวะของผู้ชายถึงกระเพาะปัสสาวะนั้นอยู่ไกลกว่าผู้หญิงระยะที่เพิ่มมาจากองคชาติ อาจจะพบได้ในคนที่มีลักษณะนิสัยชอบดื่มน้ำน้อย ทำให้ระยะเวลาในการปวดปัสสาวะห่างขึ้น แบคทีเรียจึงมีเวลาในการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้น มีมากพอที่จะก่อโรคได้

 

     เชื้อเหล่านี้มักจะแปดเปื้อนอยู่ตรงบริเวณ รอบๆ ทวารหนัก เนื่องจากการชำระหลังถ่ายอุจจาระไม่ถูกต้องสมบูรณ์ เชื้อโรคก็จะแปดเปื้อนต่อผ่านท่อปัสสาวะเข้าในกระเพาะปัสสาวะ เมื่อเชื้อโรคเข้าไปอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งถ้าถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวด สามารถขับเอาเชื้อโรคนั้นออกมาได้ ไม่เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ แต่ถ้าอั้นปัสสาวะอยู่นาน เชื้อโรคที่เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ จะมีเวลานานพอที่จะแบ่งตัวเจริญแพร่พันธุ์ จนทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ เกิดอาการขัดเบาขึ้นมาได้

 

     ด้วยเหตุนี้ โรคนี้จึงมักพบได้ในผู้หญิงทั่วไป ที่ไม่ระมัดระวังในการชำระล้างทวารหนัก และชอบอั้นปัสสาวะ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีโอกาสเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้มากกว่าคนปกติ

 

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ยา

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ยา


ปัจจัยเสี่ยงของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบมีอะไรบ้าง

 

  •  ผู้หญิง เสี่ยงกระเพาะปัสสาวะอักเสบด้วยเหตุผลทางสรีรวิทยา คือระยะทางจากทางเปิดถึงกระเพาะปัสสาวะมีเพียง 4cm

     

  •  ผู้สูงอายุ เพราะสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศไม่ดี โดยเฉพาะผู้ที่ขาดคนดูแล ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว นั่งๆนอนๆ และดื่มน้ำน้อย ปัสสาวะจึงแช่ค้าง หรือกักคั่งในกระเพาะปัสสาวะ เชื้อโรคจึงเจริญเติบโตได้ดี

     

  •  การกลั้นปัสสาวะนาน ส่งผลให้ปัสสาวะแช่ค้าง เชื้อโรคในปัสสาวะจึงเจริญเติบโตได้ดี

     

  •  ดื่มน้ำน้อย จึงส่งผลให้ไม่ค่อยได้ปัสสาวะ ปัสสาวะจึงแช่ค้างได้ง่าย เชื้อโรคในปัสสาวะจึงเจริญได้ดี

     

  •  โรคเบาหวาน เพราะเป็นโรคก่อการอักเสบติดเชื้อของเนื้อเยื่อต่างๆได้ง่ายรวมทั้งของกระเพาะปัสสาวะ

     

  •  โรคที่ต้องนั่งๆนอนๆตลอดเวลา เช่น โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์/อัมพาต จะส่งผลให้ปัสสาวะแช่ค้างอยู่นาน

     

  •  เมื่อต้องใช้สายสวนปัสสาวะ โดยเฉพาะต้องคาสายสวนปัสสาวะนานๆ หรือตลอดเวลา เช่น หลังผ่าตัด หรือ ในโรคอัมพฤกษ์/อัมพาต เพราะกระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะจะเกิดการบาดเจ็บจากสายสวนนั้น จึงติดเชื้อได้ง่าย รวมทั้งอาจติดเชื้อจากเชื้อที่ตัวสายสวนปัสสาวะเองด้วย

     

  •  มีโรคเรื้อรังของท่อปัสสาวะ หรือท่อปัสสาวะตีบ จากสาเหตุต่างๆ เช่น โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์/ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (เช่น โรคหนองใน โรคหนองในเทียม) จึงมักมีปัสสาวะแช่ค้างในกระเพาะปัสสาวะ แบคทีเรียจึงเจริญเติบโตได้เร็ว

     

  •  โรคติดเชื้อของไต โรคนิ่ว ทั้ง นิ่วในไต และนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

     

  •  การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์)

     

  •  หญิงตั้งครรภ์ เพราะการกดเบียดทับของครรภ์ต่อกระเพาะปัสสาวะ มักก่อปัญหาปัสสาวะไม่หมด เกิดปัสสาวะแช่ค้างในกระเพาะปัสสาวะ จึงเกิดการติดเชื้อได้ง่าย

     

  •  ใช้สเปรย์ดับกลิ่นบริเวณอวัยวะเพศ เพราะจะก่อการระคายเคืองเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะและปากช่องคลอด (ในผู้หญิง) เพิ่มโอกาสเกิดการบาดเจ็บและการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ

     

  •  ผู้หญิงซึ่งใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยยาฆ่าอสุจิ หรือการใช้ฝาครอบปากมดลูก (Diaphragm) เพราะเป็นสาเหตุก่อการระคายเคือง และบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะและปากท่อช่องคลอด ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

     

  •  ในผู้ชาย มักพบสัมพันธ์กับต่อมลูกหมากโต และ/หรือต่อมลูกหมากอักเสบ ส่งผลให้ปัสสาวะไม่หมด ปัสสาวะจึงแช่ค้างในกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้แบคทีเรียเจริญได้ดี กระเพาะปัสสาวะจึงอักเสบได้ง่าย


กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการ

 

อาการพบบ่อยของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คือ

 

  •  ปัสสาวะบ่อย แต่ปัสสาวะครั้งละน้อยๆ

     

  •  ปวด เบ่ง แสบ โดยเฉพาะตอนสุดปัสสาวะ

     

  •  ตึง ปวดถ่วง บริเวณท้องน้อย

     

  •  กลั้นปัสสาวะแล้วไม่นาน จะเริ่มมีอาการปัสสาวะขัด แสบท่อปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อยขึ้น

     

  •  ปวดท้องน้อยเหนือหัวเหน่า ปวดเหมือนปัสสาวะไม่สุดหรืออาจเสียวตอนสุด

     

  •  ปัสสาวะเป็นเลือด อาจมองเห็นด้วยตาเปล่า คือ ปัสสาวะสีชมพู หรือเป็นเลือด หรือตรวจพบเม็ดเลือดแดงได้จากการตรวจปัสสาวะ

     

  •  ปัสสาวะขุ่น (ปัสสาวะปกติต้องใส) หรือ อาจเป็นหนองขึ้นกับความรุนแรงของโรค และ/หรือมีกลิ่นผิดปกติ

     

  •  มีไข้ มีได้ทั้งไข้สูงและไข้ต่ำ (พบได้บ่อยกว่า) แต่มักไม่มีไข้เมื่อเป็นการอักเสบเรื้อรัง

     

  •  บางครั้งอาจมีสารคัดหลั่งบริเวณอวัยวะเพศร่วมด้วย เมื่อเกิดจากติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

     

  •  อาจมีคลื่นไส้อาเจียนได้ เมื่อเป็นการติดเชื้อเฉียบพลัน

     

  •  อาจมีนิ่วปนออกมาในปัสสาวะ เมื่อเกิดร่วมกับ นิ่วในไต หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

 

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ วิธีรักษา

 

     แนวทาง วิธีรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คือ ให้ยาปฏิชีวนะ รักษาสาเหตุปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น รักษาโรค ที่ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์/โรคที่ติดต่อมาทางเพศสัมพันธ์ เมื่อสาเหตุนั้นเกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงสารอาหารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ เช่น กาแฟ แอลกอฮอล์ และการรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น จ่ายยาแก้ปวดชนิดคลายการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ 

 

     ผู้ที่มีอาการมาก มีไข้สูง ปวดเอวมาก ควรจะรับไว้ในโรงพยาบาล และให้ยาปฏิชีวนะเข้าทางหลอดเลือด และการดื่มน้ำมากๆ เช่น วันละอย่างน้อย 8-10 แก้ว เมื่อไม่มีโรคที่เราต้องโดนจำกัดน้ำดื่ม เช่น โรคหัวใจล้มเหลว คนทั่วไปมักจะอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมงหลังเริ่มใช้ยาปฏิชีวนะ

 

     ผู้ป่วยที่เป็นหญิงและมีทางเดินปัสสาวะอักเสบซ้ำ Recurrent Infections in Women หมายถึงเป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบมากกว่า 3 ครั้งใน 1 ปี ประมาณว่า 4/5 ของผู้ป่วยจะเป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบอีกใน 18 เดือน ดังนั้นจึงต้องป้องกันโดย

 

     รับประทานยา trimethoprim/sulfamethoxazoleเป็นเวลา 6 เดือน


     รับประทานยาปฏิชีวนะหลังมีเพศสัมพันธ์


     ให้ยาปฏิชีวนะ 1-2 วันเมื่อมีอาการ

 

     ถ้าไม่ดีขึ้นหรือเป็นซ้ำมากกว่า 2-3 ครั้ง หรือเป็นในผู้ชาย ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุโดยการตรวจปัสสาวะ (พบเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก) นำปัสสาวะไปเพาะหาเชื้อ เอกซเรย์ หรือใช้กล้องส่องตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ (cystoscope) แล้วให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ


กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ยา

 

     ผู้ป่วยที่มีอาการไม่นาน ไม่มีไข้ ไม่ปวดเอว ไม่มีโรคประจำตัว อาจจะเลือกใช้ยา trimethoprim/sulfamethoxazole, amoxicillin, ampicillin, ofloxacin, norfloxacin, ciprofloxacin โดยทั่วไปอาจจะรักษา 1-2 วันก็ทำให้หายได้ แต่แพทย์มักจะแนะนำให้รับประทานยาให้ครบ 7 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าหายขาด การรักษา 1-2 วันไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน มีอาการรุนแรง หรือมีโรคประจำตัวเช่นเบาหวาน หรือต่อมลูกหมากโต

 

     ขณะที่มีอาการ ถ้าปวดมากให้ ยาแก้ปวด อย่างเช่น Paracetamol หรือ Ibuprofen จนกว่าอาการจะดีขึ้น


สมุนไพรที่รักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ

 

  •  กระเจี๊ยบแดง

     

  •  สัปปะรด

     

  •  ตะไคร้

     

  •  หญ้าคา

     

  •  ชุมเห็ดไทย

     

  •  ขลู่ 

     

  •  หญ้าหนวดแมว

     

  •  เถาวัลย์เปรียง

 

แพทย์วินิจฉัย โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้อย่างไร

 

     แพทย์จะวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบโดย แพทย์วินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้จาก ประวัติอาการ การตรวจร่างกาย การตรวจปัสสาวะ และอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับอาการผู้ป่วยและดุลพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจเลือด ซีบีซี (CBC) การตรวจเพาะเชื้อจากปัสสาวะ หรือการส่องกล้องตรวจกระ เพาะปัสสาวะ

 

     ถ้าท่านติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อย หรือหลังการรักษาแล้วไม่หาย แพทย์จะตรวจไตโดยการฉีดสีเข้าเส้นเลือด และให้สีขับออกทางไต [intravenous pyelography IVP] หรือนัดตรวจ ultrasound ที่ไตซึ่งจะได้ภาพของไต บางรายแพทย์จะส่งตรวจ cystoscope คือการใช้กล้องส่องเข้าไปดูในกระเพาะปัสสาวะ


กระเพาะปัสสาวะอักเสบ รุนแรงหรือไม่

 

     โดยทั่วไป กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นโรคไม่รุนแรง รักษาได้ไม่ยาก แต่ถ้ามีอาการมากและ ไม่พบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง อาจกลายเป็นการติดเชื้อรุนแรงได


กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีผลข้างเคียง

 

     ผลข้างเคียงจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คือ การลุกลามเป็นการอักเสบของไต ซึ่งเมื่อเรื้อรัง อาจส่งผลให้เกิดโรคไตเรื้อรังได้ หรือเมื่อการอักเสบติดเชื้อรุนแรง อาจลุกลามเป็นการอักเสบติดเชื้อในกระแสโลหิต/เลือด (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ / ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด) ซึ่งทั้งสองกรณี เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้


ป้องกันกระเพาะปัสสาวะอักเสบอย่างไร

 

  •  ดื่มน้ำสะอาดมากๆ อย่างน้อย 8-10 แก้วต่อวัน เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม เพื่อให้ไตขับปัสสาวะออกมาอย่างสม่ำเสมอ โดยแนะนำให้ดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำแครนเบอร์รี่

     

  •  ไม่กลั้นปัสสาวะนาน

     

  •  พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ

     

  •  รักษาควบคุมโรคต่างๆที่เป็นปัจจัยเสี่ยง

     

  •  ไม่ควรใช้สเปรย์ดับกลิ่นบริเวณอวัยวะเพศ เพราะจะก่อการระคายเคืองเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะและปากช่องคลอด เพิ่มโอกาสเกิดการบาดเจ็บและการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ

     

  •  ในผู้หญิงเมื่อทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ หรือในการขับถ่าย ต้องทำจากด้านหน้าไปหลังเสมอ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนแบคทีเรียจากปากทวารหนักสู่ปากช่องคลอดและปากท่อปัสสาวะซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะได้

     

  •  ในผู้หญิง ไม่ใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยยาฆ่าอสุจิ หรือการใช้ฝาครอบปากมดลูก (Diaphragm) เพราะเป็นสาเหตุก่อการระคายเคือง และบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะและปากท่อช่องคลอด ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

     

  •  รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ลดโอกาสติดเชื้อรุนแรง และลดเชื้อแพร่ไปสู่ผู้อื่น

     

  •  การอาบน้ำในอ่าง อาจเพิ่มโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ให้ใช้ฝักบัวอาบน้ำ

     

  •  เข้าห้องน้ำเพื่อถ่ายปัสสาวะให้เร็วที่สุดก่อนและหลังจากมีเพศสัมพันธ์เพื่อขับเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายที่อาจเข้ามาในท่อปัสสาวะเมื่อขณะมีเพศสัมพันธ์

     

  •  ใช้สารหล่อลื่นเพิ่มเติมในขณะมีเพศสัมพันธ์หากมีอาการช่องคลอดแห้ง

     

  •  ในช่วงเริ่มแรกของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มักมีอาการปวดและรู้สึกไม่สบายตัวอย่างรุนแรง อาจใช้วิธีเข้านอนพร้อมทั้งใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบเพื่อบรรเทาอาการไปก่อนก็ได้ 

     

  •  หากรู้สึกว่าเริ่มมีอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ควรรีบดื่มน้ำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ไตขับปัสสาวะออกมามากๆ และไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้


     สุดท้ายนี้บทความสุขภาพก็ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบมาพอสมควร เชื่อว่าหลายท่านคงได้รับความรู้เรื่องกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ความหวังดีจากทีมงาน บทความสุขภาพ ไปไม่มากก็ไม่น้อย ขอให้ทุกท่านดูแลสุขภาพให้ดีนะครับ ดูแลป้องกันตัวเอง พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง จะได้ไม่ต้องเผชิญกับโรคที่เรารู้จักแล้ว ต่อไปบทความสุขภาพจะเสนออะไร คอยติดตามให้ได้นะครับ