ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหัวใจล้มเหลว หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
Edit
ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหัวใจล้มเหลว หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
บทความสุขภาพเสนอภาวะหัวใจล้มเหลวหรือโรคหัวใจล้มเหลว เป็นภาวะหนึ่งที่หัวใจทำงานได้ไม่เต็มความสามารถหรือก็คือเป็นโรคหัวใจ หากไม่ได้ไปตรวจก็สังเกตอาการได้จาก มีอาการเหนื่อยหอบง่าย หรือมีการบวมตามเท้า ในระยะแรกๆ และหากไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดสภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้ ส่งผลให้เสียชีวิต คือเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญต่างๆได้อย่างเพียงพอ ฉะนั้นใครที่เสี่ยงโดยอาจเกิดจากพันธุกรรมก็ดี พฤติกรรมก็ดี มาดูกันเลยดีกว่าครับ
|
ภาวะหัวใจล้มเหลว
|
ภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดจาก
ภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถเกิดได้จากสภาวะทางโรคหัวใจหลายชนิด ซึ่งได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจ โรคของกล้ามเนื้อหัวใจเอง เรียกว่า cardiomyopathy โรคการอักเสบและการติดเชื้อของกล้ามเนื้อหัวใจ หรือของลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หัวใจเต้นผิดจังหวะ การได้รับสารพิษต่างๆ เช่น ยาบ้า การดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มากๆบ่อยๆ
อาการของภาวะหัวใจล้มเหลว
อาการของภาวะหัวใจล้มเหลวคือ เหนื่อยง่าย เมื่อออกแรง หรือออกกำลัง หรือขณะพัก มีอาการหายใจลำบาก แน่น หายใจเหนื่อยหอบเมื่อนอนราบ และอาการอาจดีขึ้นเมื่อลุกขึ้นนั่ง เพลียไม่มีแรง เหนื่อยง่ายมากๆ หน้าแข้งหรือข้อเท้าบวม แน่นในท้อง มีน้ำคั่งในท้อง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากการคั่ง ของน้ำ (ไม่ได้รับประทานอาหารมากขึ้น)
|
โรคหัวใจล้มเหลว
|
การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว
การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวที่ประสบความสำเร็จต้องอาศัยความร่วมมือที่ดีระหว่างทีมแพทย์ พยาบาลกับผู้ป่วย ปัจจุบันมีการรักษามากมายขึ้นกับความเหมาะสมของสภาวะของผู้ป่วยในแต่ละรายไป การรักษาดังกล่าว ได้แก่ การรักษาด้วยยา การใส่เครื่องกระตุ้น CRT การใส่เครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร หรือการปลูกถ่ายหัวใจ เป็นต้น ผู้ป่วยสามารถรักษาตัวเองได้โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวัน และรับประทานยาตามที่แพทย์และพยาบาลสั่งอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการปฏิบัติตัวดังกล่าวจะส่งผลคุณจะรู้สึกมีอาการที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ คุณจะต้องสังเกตอาการตนเองอย่างใกล้ชิดว่าคุณมีอาการผิดปกติซึ่งต้องรายงานให้แพทย์หรือพยาบาลทราบหรือไม่ คุณจะต้องมาติดตามการรักษาตามที่แพทย์นัดทุกครั้งเพื่อให้แพทย์ได้ประเมิน ปรับเปลี่ยนยา และวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ปรับตัวอย่างไรเพื่อให้รู้สึกสบายและอยู่กับโรคหัวใจล้มเหลวนี้ได้
ตราบใดก็ตามที่คุณยังใส่ใจการรักษาร่วมมือกับแพทย์ ภาวะหัวใจล้มเหลวก็เล่นงานคุณได้ยากหรือจะไม่เกิดหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน คุณควรพบแพทย์เพื่อตรวจ และติดตามการรักษาทุกครั้งตามแพทย์นัด เพื่อตรวจความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ ดูความก้าวหน้าของภาวะหัวใจล้มเหลว และเพื่อป้องกันอุบัติเหตุต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้จากโรคหัวใจรี้ เมื่อได้รับความรู้เรื่องภาวะหัวใจล้มเหลวกันไปแล้ว ก็อย่าลืมที่จะนำความรู้อันเป็นประโยชน์นี้ไปเผยแพร่ให้คนที่ท่านรักด้วยนะครับ ต่อไปบทความสุขภาพจะเสนออะไร คอยติดตามให้ได้นะครับ