อีโบล่าไวรัส โรคอีโบล่า อีโบล่า คืออะไร

Edit


อีโบล่าไวรัส โรคอีโบล่า อีโบล่า คืออะไร

 

     บทความสุขภาพอีโบล่า โรคอีโบล่าเป็นโรคที่ร้ายแรงที่เคยเกิดขึ้นบนโลกแห่งนี้ และไม่สามารถควบคุมการแพร่กระจายของโรคอีโบล่านี้ได้ ซึ่งมีความร้ายแรงสูง ทำให้เสียชีวิต อัตราการรอดชีวิตต่ำ ส่วนใหญ่จะเกิดกับคนในทวีปแอฟริกา เพราะเชื้อไวรัสอีโบล่ามีถิ่นกำเนิดจากแอฟริกา ซึ่งคราวนี้เราจะต้องตามทันเหตุการณ์ คอยอัปเดตข้อมูลให้ทันโลกอยู่ตลอดเวลา และช่วยกันสอดส่อง ควบคุมไม่ให้ไวรัสอีโบล่าแพร่กระจายไปมากกว่านี้

 

อีโบล่าไวรัส

อีโบล่าไวรัส


     อีโบล่าไวรัส โรคอีโบล่า อีโบล่าคืออะไร ช่วงนี้ ไวรัสอีโบล่าเป็นข่าวดังอย่างมาก เมื่อมีการแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆ ไวรัสอีโบล่านี้ยังไม่มีวัคซีนในการรักษา ฉะนั้นเราไปทำความรู้จักกับไวรัสอีโบล่าในบทความนี้กันเลยครับ

 

     การระบาดของ อีโบล่า หรือไวรัสอีโบล่า ซึ่งอยู่ในแถบแอฟริกาตะวันตก ที่ยังไม่มีทีท่าจะควบคุมโรคนี้ได้ นับเป็นการระบาดของอีโบล่าที่ใหญ่ที่สุด นับถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2557 นั้นมีผู้ป่วยในการระบาดครั้งนี้ติดเชื้ออีโบล่าไปแล้ว 779 ราย และเสียชีวิต 481 ราย ใน 3 ประเทศ คือ กินี สาธารณรัฐลิเบอเรีย และสาธารณรัฐเซียร์ราลิโอน โดยการระบาดของไวรัสอีโบล่าเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 2557 เป็นต้นมา

 

     ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รพ.จุฬาลงกรณ์

 

     อีโบล่าเกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มฟิโลไวรัส พบครั้งแรกที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ทวีปแอฟริกาใกล้ "แม่น้ำอีโบล่า" จึงตั้งชื่อโรคดังกล่าวตั้งแต่ปี 2519 และเกิดมีการระบาดมากกว่า 20 ครั้ง ในแอฟริกา สันนิษฐานว่าอาจจะมีค้างคาวเป็นตัวนํา และยังพบโรคจากไวรัสอีโบล่าดในสัตว์ตระกูลลิง (nonhuman primates) ในแอฟริกา แต่ติดต่อมาสู่คนด้วยวิธีใดนั้น ยังไม่ทราบแน่ชัด สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้โดยการสัมผัสเชื้อโดยตรง จากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยหรือสัมผัสเชื้ออีโบล่ามาจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเพณี วัฒนธรรม ของชาวแอฟริกานั้น พิธีกรรมศพ โดยการสัมผัส ล้างศพ เท่ากับแพร่กระจายโรคทําให้เกิดการติดต่อและระบาดของไวรัสอีโบล่าได้ง่ายๆ

 

     อีโบล่า มีอาการคือคล้ายไข้เลือดออก มีการรั่วไหลของเลือดและน้ำเหลืองออกจากหลอดเลือดเหมือนไข้เลือดออก โดยมีระยะเวลาฟักตัวประมาณ 2-21 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย การอักเสบของตับ ไตการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เลือดออกภายใน เสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 60 ปัจจุบันไม่มียาและวัคซีนจําเพาะและป้องกัน การป้องกันที่ดีที่สุดคือ ดูแลสุขอนามัย ความสะอาด สุขลักษณะ ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ได้กล่าวไปแล้ว

 

โรคอีโบล่า

โรคอีโบล่า

 

     แม้ประเทศไทยจะยังไม่มีประกาศในการห้ามเดินทางเข้าออกในทวีปแอฟริกา แต่หากมีความจําเป็นต้องเดินทางเข้าออกในพื้นที่การระบาด ผู้เดินทางควรสังเกตและเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ควรรักษาสุขอนามัยอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากเชื้อไวรัสอีโบล่านี้สามารถติดต่อได้ทางสารคัดหลั่ง เลือด และการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง และหากมีอาการเจ็บป่วยหลังจากเดินทางเข้าออกในพื้นที่ระบาด ต้องรีบพบแพทย์และแจ้งให้ทราบ เพื่อป้องกันการระบาดสู่คนใกล้ชิด

 

     ผู้ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยในพื้นที่ระบาดต้องมีการสวมใส่เครื่องป้องกันและปฏิบัติตามระเบียบวิธีอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ การรับมือและป้องกันการระบาดของเชื้อต่างๆ ที่ดีที่สุด คือ การให้องค์ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนก และรับมือต่อสู้กับโรคระบาดอย่างมีสติ

 

     ไวรัสอีโบล่าเป็นไวรัสที่มีความร้ายแรงสูง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ที่รักษาผู้ป่วยจากไวรัสอีโบล่า ได้เสียชีวิตไป ทั้งที่รู้จักและป้องกันทุกครั้ง ทางที่ดีเราควรหลีกเลี่ยงให้ห่างจากไวรัสอีโบล่าเป็นดีที่สุด และควรช่วยกันควบคุมไวรัสอีโบล่าให้ได้ ตอนนี้มีการผลิตยาที่ใช้ในการรักษาไวรัสอีโบล่าอยู่ แต่ต้องใช้เวลา เพราะนำมาใช้ในคนได้นั้นต้องมีความปลอดภัยสูงและออกฤทธิ์ได้จริงในคนด้วย ทางบทความสุขภาพขอเตือนให้ทุกท่านระวัง ป้องกันตัวเองและคนที่รู้จักให้รอดพ้นจากไวรัสอีโบล่าด้วยนะครับ เพราะเป็นแล้ว รอดยาก ต่อไปบทความสุขภาพจะเสนออะไร คอยติดตามให้ได้นะครับ